กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อ

ผู้ที่ไม่เชื่อใครเลยคือ คนโง่ !

ผู้ที่เชื่ออะไรง่ายๆ คือ คนงมงาย !

ผู้ที่รู้จักรับฟังผู้อื่นและวิเคราะห์เหตุผลด้วยปํญญา ชื่อว่า ปราชญ์ !

ทำอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าเชื่ออย่างฉลาดอ่านคำสอนของ พระพุทธเจ้าในกาลามสูตรนี้

กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อ

ไม่ให้เชื่องมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดี ก่อนเชื่อ

มี ๑๐ ประการคือ

๑. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา

๒. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา

๓. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ

๔. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา

๕. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา

๖. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา

๗. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล

๘. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน

๙. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้

๑๐.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน

8 ความคิดเห็น:

  1. แล้วดังนี้ จะให้เชื่ออะไร ?

    ในเมื่อถ้าไม่ให้เชื่ออย่างงั้น ก็คงให้เชื่ออย่างนี้

    ถ้าหากพิสูจน์แล้ว ก็ยังไม่ให้เชื่ออีก ถ้าหากพบเจอมาด้วยประสบการณ์ ก็ยังไม่ให้เชื่ออีก

    แบบนี้ คงเป็นการไม่เชื่ออะไรเลยจะดีกว่า แล้วชีวิตจะมีความสุขเล็ก ๆ ซักสิ่งไม่ได้เหรอ ?

    ป.ล ถ้าไม่เชื่ออีก ก็บอกว่าโง่ เฮ้อออออออ !

    ฉะนั้น ทำอะไรก็ทำไป เืชื่ออะไรก็เชื่อไป ที่คิดว่ามันไม่ทำร้ายตัวเอง คนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม ดีมั้ย ?

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ10 กุมภาพันธ์, 2558 11:41

      เห็นไม๊ คุณอ่านจบแล้วคุณยังไม่เชื่อในทันทีเลย
      คงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน แล้วจะพบความจริง

      ลบ
  2. มันคือการรู้แ้จ้งด้วย ปัญญา
    เพราะ "ความเชื่อ" นั้นไม่สามารถทำให้คนเราบรรลุถึง "ความจริง" ที่แท้
    ความจริงแท้ต้องรู้แ้จ้งด้วย ปัญญา
    แต่ปัญญานั้นต้องใช้ "เวลา" กว่าที่จะมีได้
    บางคนต้องใช้เวลาทั้งชีวิต
    แต่บางคน "ทั้งชีวิต" ก็ไม่สามารถเข้าถึงวิถีแห่งปัญญา

    ตอบลบ
  3. เชื่อแล้วยังไง ไม่เชื่อแล้วยังไง เชื่อด้วยปัญญาจึงจะใด้ชื่อว่าเชื่ออย่างชาญฉลาด

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ26 มีนาคม, 2557 19:24

    อย่าเชื่อ 10 ข้อนี้ด้วยนะ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ13 มิถุนายน, 2557 11:57

    อย่าเพิ่งเชื่อ ไม่ใช่อย่าเชื่อ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ18 ตุลาคม, 2557 14:43

      แปลว่า ในที่สุดก็ต้องเชื่อ

      ลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ21 พฤศจิกายน, 2557 20:54

    พระสูตรนี้ต้องอ่านให้จบ มีบทสรุปที่พระพุทธเจ้าให้ไว้ตอนท้ายว่า...ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

    สูตรนี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ

    ตอบลบ